คุณปลอดภัยแค่ไหน? เช็ก 4 รอยร้าวหลังแผ่นดินไหวด้วยตัวเอง
29 มีนาคม 2025
4657
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา (พม่า) แรงสั่นสะเทือนถูกรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้ประชาชนจำนวนมากเริ่มกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคารที่อยู่อาศัย หนึ่งในความเสียหายที่มักเกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวคือรอยร้าวที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้างและผนัง ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเพียงรอยร้าวเพียงเล็กน้อยที่ไม่อันตราย แต่ในบางกรณีลักษณะของรอยร้าวที่เกิดขึ้นสามารถบ่งบอกถึงความเสียหายเชิงโครงสร้างที่อาจเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากตรวจพบจึงควรได้รับการตรวจสอบโดยเร็ว
ประเภทของรอยร้าวบนผนังหลังแผ่นดินไหวที่ควรรู้
หลังเกิดแผ่นดินไหว เราควรตรวจเช็กโครงสร้างของอาคาร หรือบ้านที่อยู่อาศัยว่ามีรอยแตกร้าวที่ผิดปกติหรือไม่ โดยเราสามารถแบ่งรอยร้าวจากแผ่นดินไหวได้ดังนี้
1 |
รอยร้าวเส้นผม (Hairline cracks) |
รอยร้าวขนาดเล็กมาก คล้ายเส้นผมหรือรอยขีดข่วนบาง ๆ บนพื้นผิวคอนกรีตหรือปูนฉาบ |
ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างโดยรวม มักไม่ต้องกังวลมาก |
2 |
รอยร้าวแนวตั้ง (Vertical cracks) |
รอยร้าวในแนวตั้ง อาจเป็นรอยเล็กหรือรอยแตกกว้าง ขึ้นกับสาเหตุที่เกิด |
หากรอยร้าวกว้างเกินกว่าหนึ่งมิลลิเมตร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ |
3 |
รอยร้าวแนวนอน (Horizontal cracks) |
รอยร้าวขนานกับพื้นดิน จากซ้ายไปขวา อาจมีความละเอียดหรือกว้างหนาก็ได้ |
ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที ไม่ว่ารอยจะมีขนาดเท่าใด |
4 |
รอยร้าวแนวทแยง (Diagonal cracks) |
รอยร้าวเฉียงทำมุม 30–70 องศากับแนวตั้งหรือนอน มักพบที่ผนังหรือโครงสร้าง |
อาจบ่งชี้ถึงปัญหาโครงสร้าง ควรได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ |
นอกจากนี้หากรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นรอยที่ลึกและกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นบนเสา คาน หรือพื้น ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของอาคาร ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าโครงสร้างของ
อาคารนั้น ๆ เกิดการบิดตัว มีการยุบตัว หรือได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ทำให้เสี่ยงต่อการพังถล่ม ควรอพยพออกจากอาคารทันที และให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าประเมินเพื่อความปลอดภัย
คำแนะนำเพิ่มเติม: จุดที่ไม่ควรมองข้าม!
สำหรับบ้านหรืออาคารสมัยใหม่ที่ใช้ ผนัง Precast (ผนังสำเร็จรูป) เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ผนัง Precast เหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในการช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับอาคารทั้งหลัง ซึ่งหากมีรอยร้าวลึกเกิดขึ้น อาจกระทบต่อความแข็งแรงโดยรวมได้ จึงควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเข้าประเมินเช่นกัน
จะเริ่มตรวจเช็กรอยร้าวหลังแผ่นดินไหวแบบง่าย ๆ อย่างไรดี?
แม้คุณจะไม่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรม ก็สามารถใช้ ChatGPT เพื่อเป็นผู้ช่วยเบื้องต้นได้ทันที เพราะสามารถวิเคราะห์ลักษณะรอยร้าวเบื้องต้นภายหลังเกิดแผ่นดินไหว หรือจะขอคำแนะนำเกี่ยวกับวัสดุซ่อม หรือวางแผนตรวจสอบได้ เรามาเริ่มใช้งานกันเลย
วิธีติดตั้งใช้งาน ChatGPT เช็กรอยร้าวหลังแผ่นดินไหว
ดาวน์โหลดแอป ChatGPT (โดย OpenAI)
วิธีสมัครและล็อกอินใช้งาน ChatGPT
- เปิดแอปหรือเว็บไซต์ ChatGPT
- สมัครใช้งานด้วย อีเมล, Apple ID หรือ Google Account
- เมื่อล็อกอินแล้ว สามารถเริ่มพิมพ์คำถามได้ทันที
ขั้นตอนการใช้งาน ChatGPT เช็กรอยร้าวหลังแผ่นดินไหว
- ถ่ายภาพรอยร้าวให้ชัดเจน ใช้กล้องมือถือถ่ายบริเวณรอยร้าวในแสงสว่างเพียงพอ
- เข้าแอปหรือเว็บไซต์ ChatGPT
- แนบภาพเข้าลงในช่องแชต คลิกที่ไอคอน “คลิป/กล้อง” หรือคลิกปุ่ม + เพื่ออัปโหลดภาพ
- พิมพ์คำถามประกอบ เช่น
- “รอยร้าวในภาพนี้เป็นอันตรายหรือไม่?”
- “รอยแบบนี้อันตรายไหม ควรเรียกวิศวกรดูไหม?”
ChatGPT จะช่วยประเมินเบื้องต้นและแนะนำแนวทางการตรวจสอบรอยร้าวหรือซ่อมแซมต่อไป
หมายเหตุสำคัญ
การวิเคราะห์ของ ChatGPT เป็นแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น หากพบรอยร้าวหลังเกิดแผ่นดินไหวเป็นรอยร้าว ลึก ยาว หรือผิดปกติ ควรติดต่อวิศวกรหรือช่างผู้เชี่ยวชาญทันที
สรุป
หลังเกิดแผ่นดินไหวอย่าละเลยเรื่องรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นต่ออาคารที่อยู่อาศัย เพราะอาจบ่งบอกถึงความเสียหายที่ซ่อนอยู่ หากไม่แน่ใจว่าอันตรายหรือไม่ ใช้ ChatGPT ช่วยวิเคราะห์เบื้องต้นได้ทันที ทั้งจากข้อความหรือภาพถ่าย ช่วยให้คุณตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ก่อนเรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งดาวน์โหลดฟรี ใช้งานง่าย ตอบไว และพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
คลิกดู คู่มือการสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
สำหรับผู้เอาประกันที่มีกรมธรรม์อัคคีภัย (เฉพาะที่ซื้อความคุ้มครองในส่วนของภัยแผ่นดินไหวเพิ่มเติม), กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และ กรมธรรม์ประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญาการก่อสร้าง (CAR or CWI) สามารถขอคำแนะนำเรื่องการเคลมได้ที่เจ้าหน้าที่ Non-Motor หรือ ผจก.ทุกสาขา ของ ศรีกรุงโบรคเกอร์ ทั้ง 48 สาขาทั่วประเทศใกล้บ้านท่าน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
When You Shouldn’t Ignore the Cracks in the Wall By Courtney Klosterman, คู่มือการสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2560, กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว, ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)
บทความโดย : เดือน มาธุพันธ์