
ในภาคอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูของประเทศไทย โรงงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กล้วนแต่เป็นฟันเฟืองที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน การดําเนินงานของโรงงานทั้งหลายเหล่านั้นก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงต่อตัวโรงงานเองและยังอาจจะเกิดความเสียหายทางอ้อมต่อบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงงานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือการบาดเจ็บทางร่างกายหรือถึงขั้นเสียชีวิตของบุคคลภายนอก ด้วยเหตุนี้การทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับเจ้าของธุรกิจโรงงาน เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงและสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ ที่สำคัญยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคมโดยรวม
ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หรือ Public Liability Insurance คือ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่โรงงานอาจก่อให้เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก โดยครอบคลุม ถึง
- ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย: เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ
- ความเสียหายต่อทรัพย์สิน: เช่น ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับบ้านเรือน รถยนต์ หรือ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยรอบโรงงาน
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีสำหรับโรงงาน : เช่น ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดี
ประโยชน์ของการทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
การทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ช่วยให้โรงงานสามารถ
- ลดภาระค่าใช้จ่าย: ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ประกันภัยจะร่วมช่วยชดเชยค่าเสียหายให้ กับผู้เสียหาย ทําให้เจ้าของโรงงานไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในส่วนนี้เองจะช่วยให้ธุรกิจสามารถฟื้นตัวจากความเสียหายที่เกิดขึ้น และกลับมาดําเนินธุรกิจได้อย่างเป็นปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- สร้างความน่าเชื่อถือ: การมีประกันภัยแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงาน ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คู่ค้า และชุมชนต่อโดยรอบ
- ปฏิบัติตามกฎหมาย: แม้ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับให้โรงงานทุกแห่งต้องทําประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยตรง แต่ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการดําเนินงานของโรงงาน เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งระบุถึงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการโรงงานต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และพระราชบัญญัติวัตถุ อันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งควบคุมดูแลการผลิต การนําเข้า การส่งออก การครอบครอง การใช้ และการจําหน่ายวัตถุอันตราย เพื่อป้องกันอันตรายจากวัตถุอันตราย โดยกําหนดให้ผู้ประกอบ การต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย การจัดเก็บ การขนส่ง และการกําจัดวัตถุอันตราย การทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบของโรงงาน และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางกฎหมายในอนาคต
ข้อยกเว้นของประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
แม้ว่าประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอกในหลายๆด้าน แต่ก็ในตัวกรมธรรม์เองมีข้อยกเว้นบางประการที่เจ้าของโรงงานจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เพื่อการทำประกันภัยที่เหมาะสมกับธุรกิจและความเสี่ยงภัยที่มี
- ความเสียหายที่มีสาเหตุอันเกิดจากเกิดจากสินค้าหรือการให้บริการ
- ความเสียหายที่เกิดจากการก่อสร้าง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอน
- ความเสียหายที่เกิดจากสงคราม การก่อการร้าย หรือการจลาจล
- ความเสียหายที่เกิดจากสารกัมมันตภาพรังสี
- ความเสียหายที่เกิดจากความจงใจของผู้เอาประกันภัย
กรณีศึกษา

เหตุการณ์ระเบิดที่บริษัท A เคมี ในปี พ.ศ. 2564 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความสําคัญของ การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สาเหตุ: เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนอย่างต่อเนื่องในหมู่สารเคมีจนควบคุมไม่ได้ และปล่อยก๊าซส ไตรีนจํานวนมาก ทําให้เกิดระเบิดและเพลิงไหม้ นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ เช่น เพนเทน รั่วไหลอีกด้วย
- ความเสียหาย: บ้านเรือนเสียหายกว่า 100 หลัง, รถยนต์เสียหาย 138 คัน, รถจักรยานยนต์ เสียหาย 12 คัน, ผู้บาดเจ็บ 40 ราย, เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิต 1 ราย, มลพิษทางอากาศเป็นวงกว้าง
- ผลกระทบต่อผู้เสียหาย:
- ด้านร่างกาย: ประชาชนได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด ชิ้นส่วนอาคารหล่นทับ และสูดควันพิษเข้าไปในปริมาณมาก
- ด้านสุขภาพ: ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และมึนเมา การได้ยินเสื่อมลง และการตอบสนองช้าลง
- ด้านทรัพย์สิน: บ้านเรือนเสียหาย มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 300 – 400 ล้านบาท
- ด้านสิ่งแวดล้อม: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการรั่วไหลของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในรัศมีเป็นวงกว้าง
- เหตุการณ์หลังเกิดเหตุ:
- มีการประเมินสถานการณ์ของทีมภาคพื้นดินและ สั่งอพยพประชาชนบริเวณโดยรอบ 5 กิโลเมตรให้ออกห่างจากโรงงานไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย
- มีการประสานงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินเข้าปฏิบัติการดับไฟ และเจ้าหน้าที่ใช้เวลากว่า 26 ชั่วโมงในการควบคุมเพลิง มีการฉีดน้ำลดอุณหภูมิในพื้นที่เกิดเหตุ และเฝ้าดูการประทุของเปลวเพลิงที่อาจก่อตัวได้ตลอดเวลา
- บริษัท A ออกจดหมายแสดงความเสียใจต่อเหตุเพลิงไหม้
- มีการเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดที่สร้างความเสียหาย เยียวยาผู้คนและ สังคมที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุระเบิดและเพลิงไหม้
- การเรียกร้องค่าเสียหาย:
- ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุระเบิดและไฟไหม้ที่บริษัท A เช่น ความเสียหายต่อ ทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย รวมทั้งความเสียหายด้านอื่นๆ มีสิทธิเรียกร้องให้ บริษัท A ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้
- ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท A โดยอ้างอิง พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มาตรา 18 และ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งระบุให้ผู้ประกอบการโรงงานต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการโรงงานหรือไม่ก็ตาม
- เนื่องจากมีประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเป็นจํานวนมาก จึงสามารถดําเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งได้
- การเยียวยา:
- องค์การบริหารส่วนตําบล เปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบลงทะเบียนร้องทุกข์ โดยมีวงเงิน ช่วยเหลือสูงสุดไม่เกิน 49,500 บาทต่อคน
- อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าชาวบ้านบางรายได้รับเงินเยียวยาเพียงเล็กน้อย ไม่สอดคล้องกับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เช่น คุณB ซึ่งได้รับเงินเยียวยาเพียง 40 บาท ในขณะที่ต้อง จ่ายค่าซ่อมแซมบ้านกว่า 2 หมื่นบาท
- ประกันภัยและทุนที่ทําไว้:
- ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 20 ล้านบาท
จากกรณีศึกษา พบว่าบริษัท A ทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้เพียง 20 ล้านบาท แต่ความเสียหายเบื้องต้นประเมินไว้เกินหลักร้อยล้าน ซึ่งหมายความว่าทุนประกันภัยที่บริษัท ทําไว้นั้น ไม่เพียงพอต่อการชดเชยความเสียหายทั้งหมด ส่งผลให้บริษัทต้องแบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่สูงมาก และอาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทในระยะยาว จนทำให้บริษัทต้องขายสินทรัพย์ กู้ยืมเงิน หรือล้มละลายได้ รวมไปถึงยังส่งผลกระทบต่อผู้เสียหายซึ่งอาจไม่ได้รับค่าชดเชยความเสียหายอย่างเต็มที่ อาจสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตตามปกติได้
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนเลือกซื้อประกันภัยสำหรับโรงงาน
- ความสําคัญของการประเมินความเสี่ยง: โรงงานควรประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก การดําเนินงานอย่างรอบด้าน และพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ประเภทของวัตถุอันตรายที่ใช้ ปริมาณการจัดเก็บ สถานที่ตั้งของโรงงาน ความหนาแน่นและจํานวนประชากรที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
- ความจําเป็นในการทําประกันภัยเพิ่มเติม: โรงงานที่ประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงงานสารเคมี ควรพิจารณาทําประกันภัยเพิ่มเติมที่ครอบคลุมความเสี่ยงเฉพาะด้าน
- การกําหนดทุนประกันภัย: ทุนประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกนั้นควรครอบคลุมถึง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในด้านชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่มี และความรับผิดสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้
สรุป
การทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ให้คุ้มครองทั้งต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ถือว่าเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับเจ้าของธุรกิจโรงงานใน ประเทศไทย ไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่าย สร้างความน่าเชื่อถือให้กับโรงงาน แต่ยัง เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคม และช่วยให้ธุรกิจสามารถดําเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงแม้ในวันที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อย่างไรก็ตามควรศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นของกรมธรรม์อย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่า ประกันภัยที่เลือกมีความคุ้มครองที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและความเสี่ยงภัยที่มีของโรงงาน
ผู้เขียน : อนุวัธ หมื่นกันยา
วิทยากรประกันภัย Life Specialist บริษัท ศรีกรุงโบรคเกอร์ จํากัด